What can we help you with?
ไฟไหม้ปั๊มน้ำมันกับอันตรายจากไฟฟ้าสถิตย์ เรื่องนี้ต้องรู้!!!

- อันตรายจากไฟฟ้าสถิตกับไอน้ำมันคือสาเหตุการห้าม
- ทําไมต้องปิดโทรศัพท์ตอนเติมน้ำมัน
- เวลาเติมน้ำมันต้องดับเครื่องยนต์ไหม
- อันตรายจากไฟฟ้าสถิต สาเหตุเพลิงไหม้
- มาตรฐานสำหรับการจัดการไฟฟ้าสถิตย์ในไทย
อันตรายจากไฟฟ้าสถิตกับไอน้ำมันคือสาเหตุการห้าม
หลายคนอาจจะมีภาพจำเกี่ยวกับน้ำมันติดไฟ ทำให้ทุกคนก็เข้าใจไปในทางเดียวกันว่าหากจุดไฟกับน้ำมันเชื้อเพลิงจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาได้ แต่ความจริงแล้วน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมรถของเราๆ นั้น จะติดไฟและเป็นอันตรายแบบสุดๆ ก็ในตอนที่เป็นไอครับ ดังนั้น ภาพที่เราเห็นเวลาที่เปลวไฟพุ่งๆ ก็คือการเผาไหม้ของไอน้ำมันที่กำลังระเหยครับ ปกติแล้วในการเติมน้ำมันแต่ะละครั้งจะมีไอระเหยของน้ำมันฟุ้งบริเวณคอเติมน้ำมัน โดยขณะที่เติมนั้น น้ำมันจะไหลเข้าสู่รถ 30 ลิตร ต่อนาที และไอน้ำมันจากรถเองก็พุ่งสวนมาในปริมาณที่เท่าๆ กัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายในรัศมี 1.5 เมตร จากหัวจ่าย ยังไม่รวมกับบริเวณเกาะเติมน้ำมันที่ยังไม่มีการเติมน้ำมัน ก็จะมีไอน้ำมันอยู่รอบตู้จ่ายในรัศมี 50 เซนติเมตร ความสูง 6 เมตร หากมีประกายไฟและก๊าซออกซิเจนขึ้นมาอาจจะทำให้เกิดการติดลุกเป็นไฟได้นะครับ ถือว่าอันตรายมากๆ อาจทำให้เกิดไฟไหม้รถ ปัจจุบันบริเวณกรุงเทพและปริมณฑลได้มีการใช้หัวปั๊มน้ำมันที่สามารถดูดคืนไอน้ำมันในบริเวณหัวจ่ายน้ำมันเพื่อลดการฟุ้งกระจายของไอน้ำมัน แต่ทั้งนี้พี่กู๊ดก็ยังอยากให้ทุกคนระวังเรื่องนี้อยู่นะครับ เพราะ ไอน้ำมันเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ไฟลุกขึ้นมาได้ แล้วภายในปั๊มน้ำมันที่รัศมีในวงกว้างแบบนี้บอกเลยว่าอันตรายแน่นอนทําไมต้องปิดโทรศัพท์ตอนเติมน้ำมัน
เมื่ออ่านข้อมูลด้านต้นแล้ว คงมีคนเข้าใจว่าที่ทางปั๊มน้ำมันออกมาตรฐานทั้งให้ดับเครื่องระวังการเติมน้ำมัน หรือ ห้ามเล่นโทรศัพท์ในปั๊มน้ำมัน เพราะมันอาจจะส่งผลให้เกิดประกายไฟได้ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ครับ มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับการเกิดประกายไฟ มีข่าวหลายข่าวเคยพูดถึงในกรณีที่ใช้โทรศัพท์ในปั๊มน้ำมันจนเกิดเพลิงไหม้ แต่ในความจริงแล้วคลื่นโทรศัพท์ไม่สามารถทำให้ไฟไหม้ได้ แต่อาจเป็นด้วยองค์ประกอบอย่างอื่น เช่น เกิดการหล่นแล้วส่วนที่เป็นโลหะไปกระแทกกันจนเกิดประกายไฟ หรือขั้วแบตที่หลวมหรือช็อตจนเป็นประกายไฟ เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแลกเปลี่ยนประจุ เช่น โทรศัพท์มือถือ ได้โดยง่าย เกิดเป็นไฟฟ้าสถิตได้นั่นเองเวลาเติมน้ำมันต้องดับเครื่องยนต์ไหม
ในส่วนของการดับเครื่องตอนเติมน้ำมันนั้น มีเพียงเหตุผลหลักๆ ที่ว่า ในกรณีที่รถเกิดการสึกหรอ อาจจะเป็นเหตุทำให้เกิดความร้อน หรือประกายไฟ ขณะเติมน้ำมันจนไฟลุกไหม้ได้ หรือบางทีผู้ขับขาดความระมัดระวังแล้วออกรถในขณะที่สายจ่ายน้ำมันยังคาอยู่ที่รถ ส่งผลให้สายจ่ายน้ำมันหลุดและเกิดการเสียดสีกลายเป็นประกายไฟ รวมกับน้ำมันที่ไหลออกมาจากสายจ่ายน้ำมัน ก็ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ตามมาได้ ดังนั้น หลายข้อห้ามส่วนใหญ่จึงมักคิดมาเพื่อป้องกันการเกิดสาเหตุของเพลิงไหม้ได้นั่นเองครับ และพี่กู๊ดยังมีอีก 10 สาเหตุเที่อาจทำให้ไฟไหม้รถ มาฝากให้ระวังกันนะครับอันตรายจากไฟฟ้าสถิต สาเหตุเพลิงไหม้
หลายพื้นที่ทั่วโลกมีเหตุการณ์เกี่ยวกับการเกิดเพลิงไหม้ในขณะเติมน้ำมัน ส่วนใหญ่มักพบว่าสาเหตุเกิดจากอันตรายจากไฟฟ้าสถิต (Static electricity) ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีความชื้นในอากาศต่ำ อย่างเช่นในห้องแอร์ โดยไฟฟ้าสถิตมักจะเกิดบนผิวหนัง หรือ เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแลกเปลี่ยนประจุ เช่น โทรศัพท์มือถือ ได้โดยง่าย บางครั้งที่เกิดไฟฟ้าสถิตก็อาจจะเจ็บเล็กน้อยบริเวณดังกล่าว แต่ในบางครั้งอาจจะรุนแรงจนอาจเกิดเป็นประกายไฟขนาดเล็กที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ เมื่อเจอกับไอน้ำมันจึงทำให้เกิดเปลวไฟได้ครับ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากอยู่ในปั๊มน้ำมันจะดีกว่านะ พี่กู๊ดขอเตือน นอกจากนี้การเข้าหรือออกจากรถขณะเติมน้ำมันรถ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้ เพราะเสื้อผ้าของคนขับมีโอกาสเสียดสีกับผ้าคลุมเบาะที่นั่งจนเกิดไฟฟ้าสถิตระหว่างที่เข้าหรือออกจากรถ ดังนั้นควรขึ้นลงรถก่อนเติมน้ำมัน หรือเมื่อเติมน้ำมันเสร็จและปิดฝาถังเรียบร้อยแล้วจะดีกว่า สำหรับคนที่ใช้ปั๊มน้ำมันแบบเติมเอง พี่กู๊ดแนะนำให้ปิดประตูรถทุกครั้ง เมื่อเข้า หรือออกจากรถหรือจับกับส่วนที่เป็นโลหะ เพื่อทำให้ประจุไฟฟ้าสถิตในตัวให้หมดไปจะได้ไม่เกิดไฟฟ้าสถิตย์ขึ้นได้มาตรฐานสำหรับการจัดการไฟฟ้าสถิตย์ในไทย
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิต ที่คอยควบคุมดูแลธุรกิจสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน โดยมีนโยบายให้ปั๊มน้ำมันวางสายดินตามมาตรฐานที่เพียงพอและต่อเนื่องตากฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิต รวมไปถึงการกำหนดขั้นตอนการถ่ายเทน้ำมันระหว่างรถขนส่งกับภาชนะบรรจุน้ำมันก็ต้องต่อตัวนำประสานเข้ากับจุดต่อลงดิน และปลดออกภายหลังการถ่ายเทน้ำมันเสร็จสิ้นอีกด้วยไฟไหม้รถ ประกันคุ้มครองไหม
แล้วจะทำอย่างไร ถ้าไฟไหม้รถ ดีนะ..ปฏิบัติตามที่พี่กู๊ดแนะนำก็แล้ว แต่ก็ยังมาเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอย่างการเกิดไฟไหม้รถเราในปั๊มน้ำมัน พี่กู๊ดขอบอกเลยว่าไม่ต้องกังวลไป เพราะในกรณีแบบนี้ไฟไหม้รถเคลมประกันได้!! เฉพาะผู้ที่ทำมีประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 2 และ ประกันรถยนต์ 2+ เท่านั้นนะครับ ในส่วนของคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์นั้น มักจะคุ้มครองเท่ากับทุนประกันภัยครับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่บริษัทที่ทำการดูแลครับ แต่...ถ้าใครที่ยังไม่ได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่คุ้มครองในส่วนนี้ พี่กู๊ดมองว่าประกันชั้น 2++ ใหม่ จาก ไดเร็คเอเชีย (DirectAsia) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากครับ เพราะเบี้ยประกันราคาไม่สูงมากเท่าประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่ยังให้ความคุ้มครองในกรณีไฟไหม้รถสูงกว่าถึง 2 เท่าของทุนประกันภัย* อีกด้วย ลองคิดกันเล่นๆ ว่า หากรถเสียหายสิ้นเชิงหรือรถเสียหายหนัก จนไม่สามารถซ่อมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ การที่เราได้เงินทุนก่อนนี้มาก็ช่วยให้เราลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับรถคันใหม่ได้เลยนะครับ สำหรับการเติมน้ำมันในครั้งต่อไป พี่กู๊ดเชื่อหลายคนก็มีแนวทางในการปฏิบัติตัวมากขึ้น ทั้งนี้พี่กู๊ดอยากให้ทุกคนทำตามข้อห้ามที่ทางปั๊มน้ำมันได้เตือนไว้จะดีกว่า เพราะ นอกจากจะเป็นการลดโอกาสการเกิดเหตุไม่คาดฝันแล้วยังช่วยให้รถที่คุณรักอยู่กับคุณไปนานๆ โดยไม่เสียหายกลายเป็นตอตะโกไปเสียก่อนครับ 😊 สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+ , ประกันรถยนต์ 3+ , ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th/ *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด