กฎหมายใหม่ 2566 ซื้อรถใหม่ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ย

- การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ
- รับส่วนลดดอกเบี้ยเมื่อมีการปิดค่างวด
- หนี้ในกรณีนำรถออกขายทอดตลาด
- การคิดเบี้ยปรับในการผิดนัดชำระ
ข่าวดี! ใครกำลังจะซื้อรถ รอก่อน เพราะมีประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้ลดต้นลดดอก และการตั้งเพดานดอกเบี้ยใหม่ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 66 เป็นต้นไป
มาดูกันว่าเงื่อนไขการเช่าซื้อรถยนต์-รถจักรยานยนต์ รวมถึงการผ่อนรถแต่ละประเภทจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่วางแผนจะออกรถใหม่อย่างไร
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นมาตรการช่วยเหลือผู้บริโภคและแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้บริโภคที่ทำสัญญา เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับรายได้ และได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 มกราคม 2566 และจะบังคับใช้เฉพาะสัญญาเช่าซื้อที่ทำตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ส่วนสัญญาเช่าซื้อที่ทำก่อนวันที่ 10 มกราคม 2566 ยังคงมีผลบังคับใช้ไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา โดยสาระสำคัญของประกาศ มีดังนี้
-
การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ
การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อมี 3 ประเภทได้แก่
ประเภทที่ 1 รถยนต์ใหม่ ต้องไม่เกินอัตรา 10%/ปี
ประเภทที่ 2 รถยนต์ใช้แล้ว ต้องไม่เกินอัตรา 15%/ปี
ประเภทที่ 3 รถจักรยานยนต์ ต้องไม่เกิน 23%/ปี
-
รับส่วนลดดอกเบี้ยเมื่อมีการปิดค่างวด
หากผู้บริโภคนำเงินมาชำระค่างวดครบก่อนกำหนด หรือการปิดบัญชี จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยในการปิดค่างวดเป็นขั้นบันได มี 3 กรณี ได้แก่
-
-
ชำระค่างวด ไม่เกินหนึ่งในสาม
-
เมื่อชำระค่างวด ไม่เกินหนึ่งในสามของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลด ไม่น้อยกว่า 60% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
-
-
ชำระค่างวด ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
-
เมื่อชำระค่างวด ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามแต่ไม่เกินสองในสาม ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่า 70% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
-
-
ชำระค่างวด เกินกว่าสองในสาม
-
เมื่อชำระค่างวด เกินกว่าสองในสามของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลดทั้งหมดของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
-
หนี้ในกรณีนำรถออกขายทอดตลาด
หากผู้บริโภคถูกยกเลิกสัญญา และผู้ให้เช่าซื้อนำรถออกขายทอดตลาด โดยปกติแล้วผู้บริโภคต้องรับผิดชอบค่างวดที่ค้างอยู่ตามสัญญาประกอบด้วยเงินต้น และดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งประกาศฉบับนี้ให้คิดได้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น
-
การคิดเบี้ยปรับในการผิดนัดชำระ
กรณีผู้บริโภคชำระค่างวดล่าช้า หรือผิดนัดชำระค่างวด ผู้ให้เช่าซื้อสามารถคิดเบี้ยปรับจากผู้บริโภคได้ไม่เกินอัตรา 5%/ปี โดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ฤกษ์มงคลเดือนมกราคม 2566 ตำราหมอช้าง ขับรถเฮง ชีวิตรุ่งปีเถาะ
- Wrap รถดีไหม ต้องรู้อะไรบ้าง?
- ข้อควรรู้! รถไม่มี พรบ.หมดสิทธิ์รับความคุ้มครองอะไรบ้าง ?
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 0-2767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อม เช็คราคาประกันรถยนต์ ทั้ง ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันชั้น 2+, ประกันชั้น 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค