What can we help you with?
พรบ รถยนต์ คืออะไร? หมายถึงอะไร สำคัญยังไง?

- พรบ รถยนต์ หมายถึง อะไร
- พ.ร.บ. รถยนต์ ย่อมาจากอะไร
- พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
- ตัวอย่าง พรบ รถยนต์ คือใบไหน เป็นแบบไหน
- ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ไหม
พรบ รถยนต์ หมายถึง อะไร?
ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า พรบ บ่อยๆ หลายคนก็สงสัยว่าคือไรกันแน่ แล้วทำไม่เราต้องทำ พรบ มันมีความสำคัญยังไง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกคน พรบ รถยนต์ คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย ความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์ จึงอยู่ที่การให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ความหมายก็คือ ให้ความคุ้มครอง “คน” ไม่ใช่ “รถ”พ.ร.บ. รถยนต์ ย่อมาจากอะไร
พ.ร.บ. ย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนน
พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง
ซึ่งวงเงินคุ้มครองจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และรถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ภายใน 7 วัน สำหรับวงเงินคุ้มครอง มีดังนี้- 1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
- 2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม
- 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จ่าย 300,000 บาท/คน
- กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 - 300,000 บาท/คน
- กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
ตัวอย่าง พรบ รถยนต์ คือใบไหน เป็นแบบไหน

ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ไหม
หากไม่ทำ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ข้อสำคัญควรพกหลักฐานการทำ พ.ร.บ. เอาไว้ในรถด้วยเสมอ เพื่อแสดงหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น การทำ พ.ร..บ. แนะนำว่าให้ทำกับบริษัทประกันภัยรถยนต์เดียวกันเพื่อความสะดวกเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ การยื่นเอกสารต่างๆ สามารถทำได้พร้อมกันต่อเนื่องทันที โดยไม่เสียเวลารอไปมา การทำ พ.ร.บ. มีให้เลือกหลายหลาย ทั้งทำกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ หรือไปทำได้ที่กรมขนส่งทั่วประเทศ หรือต่อทางอินเทอร์เน็ตได้เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกก็สะดวก สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+ , ประกันรถยนต์ 3+ , ประกันชั้น 2 , และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th/ *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด