What can we help you with?

หมดปัญหาจุกจิกให้รถยนต์ เช็คน้ำมันเครื่องยนต์ช่วยได้

ตัวช่วยลดแรงเสียดทาน ช่วยลดแรงเสียดสีระหว่างเครื่องยนต์ทำงานอย่าง “น้ำมันเครื่อง” มีผลกับประสิทธิภาพเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก เพราะคอยทำหน้าที่รักษากำลังอัด เพิ่มความหล่อลื่นและระบายความร้อนครื่องยนต์ได้ดี ส่วนใครที่เป็นมือใหม่หัดขับ หรือไม่ค่อยถนัดเช็คน้ำมันเครื่องเท่าไหร่ DirectAsia มีข้อมูลมาให้! พร้อมวิธีเช็คน้ำมันเครื่องแบบง่าย ๆ มาแนะนำ

เช็คน้ำมันเครื่องยนต์

น้ำมันเครื่องมีกี่ประเภท เลือกแบบไหนให้เหมาะกับรถยนต์ ?

ก่อนจะไปเริ่มต้นเช็คน้ำมันเครื่อง การเลือกชนิดของน้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของรถต้องศึกษา และทำความเข้าใจ ด้วยเงื่อนไขของอายุรถยนต์ที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพเครื่องยนต์ทำงานได้ดีไม่เท่ากัน ยิ่งเครื่องยนต์ที่มีสภาพเก่ายิ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง 

ความหนืดของน้ำมันเครื่อง คือ ความเข้มข้นของน้ำมันหล่อลื่น โดยใช้ตัวอักษร W (Winter) แทนค่าความต้านทานการเป็นไขของน้ำมันเครื่อง ตามด้วยตัวเลข เช่น 30, 40, 50 และ 60 (หน่วยเป็นองศาเซลเซียส) ยิ่งตัวเลขสูงมากจะเท่ากับค่าความหนืดที่สูงตามเช่นกัน

  • น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง จะช่วยลดการเสียดสีของเครื่องยนต์ได้มาก
  • น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดน้อยหรือเหลวเกินไป จะช่วยลดการเสียดสีของเครื่องยนต์ได้น้อย

ซึ่งน้ำมันเครื่องแต่ละชนิดจะมีค่าความหนืดแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะกับประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ในรุ่นนั้น ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

3 ประเภทน้ำมันเครื่องรถ

  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully synthetic oil) จะมีความหนืดน้อย เช่น 0W30 หรือ 5W40 ซึ่งเหมาะเครื่องยนต์ใหม่ๆ หรือรถยนต์ที่มีสมรรถนะดี
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-synthetic oil) จะมีความหนืดเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย เช่น 10W40 หรือ 15W40 เหมาะกับเครื่องยนต์ทั่วไป
  • น้ำมันเครื่องธรรมดา (Conventional oil) จะมีความหนืดสูง เช่น SAE50 เพื่อรองรับเครื่องยนต์ที่มีความร้อนสูงง่าย จึงเหมาะกับรถรุ่นเก่าที่มีอายุใช้งานหลายปี หรือมีเลขไมล์ 200,000 กิโลเมตรขึ้นไป 

หากถามว่ารถยนต์ยิ่งเก่า ยิ่งต้องเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากขึ้นเรื่อย ๆ ไหม คำตอบคือ “ไม่ใช่เสมอไป” เพราะรถเก่าหลาย ๆ คันที่ได้รับการดูแลอย่างดี ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีมาตลอด ก็ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูงเสมอไป ซึ่งเราสามารถเช็คน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเราได้จากเอกสารคู่มือรถยนต์เพิ่มเติมด้วยได้

น้ำมันเครื่องรถยนต์

จะเป็นยังไงถ้าน้ำมันเครื่องหมด ?

รู้จักวิธีเช็คน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์กันไปแล้ว ก็อย่าเผลอให้ระดับน้ำมันเครื่องแห้งเหือดไม่รู้ตัว เพราะมัวขับรถเพียงอย่างเดียว! เพราะเมื่อไรที่น้ำมันเครื่องแห้งหรือน้ำมันเครื่องหมด จะส่งผลให้เกิดปัญหารถยนต์อื่น ๆ ตามมา เช่น

  • เครื่องยนต์เสียงดังขณะขับหรือทำงาน ซึ่งเกิดจากแรงเสียดสีของเครื่องยนต์ที่ขาดความหล่อลื่น และหากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้เครื่องยนต์เสียหาย และสึกหรออย่างรุนแรงได้
  • ปัญหาลูกสูบติด ชาร์ปละลาย การปล่อยให้ระดับน้ำมันเครื่องแห้ง เปรียบเสมือนการปล่อยให้ความร้อนเพิ่มสูงขึ้นแบบอัตโนมัติ จากเครื่องยนต์ที่เสียดสีกันโดยตรงจนเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้อะไหล่รถยนต์ส่วนอื่น ๆ เสียหาย โดยเฉพาะชาร์ปรถยนต์ที่คอยทำหน้าที่หมุนเพลาไม่ให้โดนกับลูกสูบ ซึ่งหากอะไหล่ 2 ชิ้นนี้เกิดมีปัญหามากขึ้น อาจทำให้รถยนต์ดับและไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด

คนมีรถต้องใส่ใจ ฝึกเช็คน้ำมันเครื่องง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

การเช็คน้ำมันเครื่องให้อยู่ในเกณฑ์ปกติพร้อมเลือกชนิดน้ำมันเครื่องที่เหมาะสม จึงเป็นเหมือนการยืดอายุเครื่องยนต์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายที่คนมีรถยนต์ต้องใส่ใจคือการฝึกเช็คน้ำมันเครื่องง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • วัดระดับน้ำมันเครื่อง วิธีเช็คน้ำมันเครื่องที่แม่นยำที่สุด แนะนำให้วัดหลังจากดับเครื่องยนต์ข้ามคืนไปแล้ว เพราะน้ำมันเครื่องจะไหลกลับไปอยู่ในระดับปกติอย่างเต็มที่และหายร้อน จึงมีความข้นและเหนียวมากขึ้น ทำให้ติดก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องได้ดีและแม่นยำ แต่หากจำเป็นต้องเช็คน้ำมันเครื่องโดยเร็วที่สุด ให้วัดหลังจากดับเครื่องยนต์ไปแล้วอย่างน้อย 30 นาที โดยระดับน้ำมันเครื่องที่วัดได้ควรอยู่ระหว่างขีดบนและล่างของก้านวัด ไม่ควรต่ำกว่าระดับ L (Low,Min)
  • เช็คสีน้ำมันเครื่อง หลังวัดระดับน้ำมันเครื่องเรียบร้อยแล้ว ยังต้องสังเกตสีของน้ำมันเครื่องร่วมด้วย โดยปกติสีขอองน้ำมันเครื่องจะออกสีเหลืองหรือเหลืองอำพัน เมื่อใช้งานนาน ๆ เข้าจะเปลี่ยนเป็นเข้มขึ้นจนกลายเป็นสีเทาหรือดำ บวกกับสิ่งสกปรกหรือตะกอนที่ปะปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ซึ่งหากเช็คน้ำมันเครื่องแล้วพบว่าเป็นสีเข้มจนดำเมื่อไร แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทันทีแม้จะยังไม่ถึงระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องก็ตาม

นอกจากนี้ ควรเช็คน้ำมันเครื่องเป็นประจำทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อถึงรอบการใช้งานที่กำหนด และสังเกตอาการต่าง ๆ ของรถยนต์ เช่น ความดัง-เบาของเครื่องยนต์ขณะขับขี่ หรือหลังการจอด ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสุขภาพเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงการเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ เพื่อทำประกันรถยนต์ชั้น 2+ และประกันชั้น 3 สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมาก นอกจากนี้ DirectAsia ยังการันตีเคลมไว ถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที* พร้อมให้คุณซ่อมจนกว่าจะพอใจในทุกแผนความคุ้มครอง

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์  โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์  โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th