What can we help you with?
เปิดคุณสมบัติ ระบบช่วยขับขี่ ที่บอกว่าดีจ้อจี้หรือจริง?

เทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นจนทำให้ยานยนต์หลายแบรนด์สามารถพัฒนา ระบบช่วยขับขี่ ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ขับขี่ได้อย่างน่าทึ่ง และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนบางประเทศมียานยนต์บนท้องถนนที่มาพร้อมระบบช่วยขับขี่และควบคุมยานยนต์ให้ 100% โดยที่เราทำหน้าที่เป็นเพียงผู้โดยสารแล้วด้วยซ้ำ
แม้ว่าจะระบบช่วยขับขี่แบบสมบูรณ์แบบจะยังไม่ใช้อย่างแพร่หลาย แต่ได้มีระบบบางอย่างที่ถูกนำมาใช้กับยานยนต์ในประเทศไทยแล้วเช่นกัน ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ ประกันรถยนต์ คู่หูคนมีรถ จะขอพามาย้อนสเต็ป พาไปดูภาพรวมของการพัฒนาระบบช่วยขับขี่ในทุกวันนี้ว่าพัฒนาไปถึงไหน เพื่อตอบคำถามว่าระบบอัตโนมัติเหล่านี้ช่วยดูแลความปลอดภัยในการขับขี่ได้ดีจริงไหมและเพียงใด มาติดตามไปพร้อมกันเลย

รู้จักระดับความสามารถของระบบช่วยขับขี่ในปัจจุบัน
ระบบช่วยขับขี่ เป็นระบบอัตโนมัติแบบที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ (Autonomous) ถูกติดตั้งในยานพาหนะประเภทต่าง ๆ คุณอาจเคยได้ยินความสามารถของรถยนต์ที่เบรกได้อัตโนมัติ เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับได้ว่ามีวัตถุอยู่ด้านหน้าในระยะประชิด หรือแม้แต่มุมอับสายตาที่ผู้ขับขี่ยากจะมองเห็น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในระบบช่วยขับขี่ โดยในครั้งนี้เราจะเน้นพูดถึงระบบในรถยนต์เป็นหลักกัน ระบบช่วยขับขี่อัตโนมัตินี้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยแต่ละระดับจะมีขีดความสามารถและข้อจำกัดในการช่วยขับขี่ที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ระบบช่วยขับขี่ ระดับ 1
เป็นระบบการทำงานอัตโนมัติของรถ ช่วยเสริมความเร็วในการกระทำต่าง ๆ ที่ไวกว่ามนุษย์ ส่วนมากจะเน้นใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Safety Active เช่น ระบบเบรก ABS หรือ Anti-Lock Brake System ซึ่งจะช่วยเบรกจนล้อล็อก ป้องกันการไถลของรถ ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถคุมทิศทางรถได้อย่างฉับพลันทันที อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ ระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก EBD หรือ Electronic Brakeforce Distribution ซึ่งทำงานร่วมกับ ABS ช่วยกระจายการไปเบรกไปยังทุกล้อของรถนั่นเองระบบช่วยขับขี่ ระดับ 2
มาต่อที่ระบบช่วยขับขี่ระดับที่ 2 ซึ่งจะมีความสามารถในการช่วยเป็นหูเป็นตาให้ผู้ขับขี่ได้ เช่น การส่งสัญญาณเตือนเมื่อขับขี่ออกนอกเลน เป็นต้นระบบช่วยขับขี่ ระดับ 3
สำหรับระบบช่วยขับระดับ 3 จะพัฒนาเป็นกลุ่มระบบที่มีโหมด Hands-Off ซึ่งรถจะบังคับเองได้ โดยที่ผู้ขับขี่สามารถปล่อยมือออกจากพวงมาลัยได้ในบางช่วงเวลา แต่จะเป็นช่วงที่ความเสี่ยงต่ำหรือไม่เกี่ยวข้องกับการขับขี่บนท้องถนน เช่น ระบบช่วยจอดรถในที่แคบ เป็นต้นระบบช่วยขับขี่ ระดับที่ 4
พัฒนาขีดความสามารถมาอีกขั้นด้วยระบบช่วยขับขี่ระดับ 4 ซึ่งความสามารถของระบบช่วยขับระดับนี้คือ ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องขับเองตลอดเวลา สามารถละมือออกจากพวงมาลัย หรือละสายตาออกจากทัศนวิสัยบนท้องถนนได้บางช่วง แต่การออกแบบยานพาหนะที่ใช้ระบบช่วยขับขี่ระดับ 4 จะยังคงมีพวงมาลัย เบรก และเกียร์ตามปกติ เพื่อที่ผู้ขับขี่จะสามารถเลือกควบคุมรถด้วยตนเอง หรือใช้ระบบอัตโนมัติช่วยควบคู่กันไปได้ แต่ในบางประเทศได้มีการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับแล้ว โดยยังคงออกแบบให้รถมีหน้าตาเหมือนรถยนต์ทั่วไปก็มีระบบช่วยขับขี่ ระดับที่ 5
ปิดท้ายที่ระดับสูงสุดของระบบช่วยขับขี่ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับระดับ 4 แต่มีจุดแตกต่างตรงที่ยานพาหนะที่ใช้ระบบนี้จะถูกผลิตเพื่อวัตถุประสงค์คือ มนุษย์ไม่จำเป็นต้องควบคุม หรือเป็นรถยนต์ไร้คนขับนั่นเอง โดยยานพาหนะจะทำหน้าที่เองอัตโนมัติแบบ 100% ผู้โดยสารเพียงป้อนคำสั่ง เช่น จุดหมายที่ต้องการไป จึงทำให้มีการตัดอุปกรณ์ในการบังคับอย่างพวงมาลัยหรือเบรกออกไป
ระบบช่วยขับขี่ ปลอดภัยเต็มร้อยจริงหรือ?
แม้ข้อมูลข้างต้นจะทำให้เห็นว่าระบบช่วยขับขี่เป็นระบบที่เก่งกาจและอาจเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางในอนาคตได้อย่างมากทีเดียว แต่ทั้งนี้ก็มีข้อควรระวังด้านขีดจำกัดความปลอดภัยของระบบนี้ที่ผู้ขับขี่ควรตระหนักถึง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ดีจนเคยตัว และลดโอกาสเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุซึ่งสามารถสรุปออกมาได้ ดังนี้-
ระบบช่วยขับขี่อาจทำให้ผู้ขับขี่ประมาทมากขึ้น
-
ระบบช่วยขับขี่อาจไม่เสถียร

บทความที่เกี่ยวข้อง
- 7 วิธีดูแลรถหน้าร้อน ไม่อยากให้รถเสื่อมสภาพเร็วต้องทำ!
- ติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้านใช้เงินเท่าไหร่ ?
- ข้อควรระวังก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน